เมนู

คนบางพวกในโลกนี้ ย่อมนินทา ติเตียน ค่อนขอดภิกษุโดยชาติบ้าง
โดยโคตรบ้าง โดยความเป็นบุตรแห่งสกุลบ้าง โดยความเป็นผู้มีรูปงาม
บ้าง โดยทรัพย์บ้าง โดยความเชื้อเชิญบ้าง โดยหน้าที่การงานบ้าง โดย
ศิลปศาสตร์บ้าง โดยวิทยฐานะบ้าง โดยการศึกษาบ้าง โดยปฏิภาณบ้าง
โดยวัตถุอื่น ๆ บ้าง ภิกษุถูกนินทาติเตียนค่อนขอดแล้ว ไม่พึงหวั่น
หวั่นไหว เอนเอียง สะดุ้ง ดิ้นรน กระวนกระวายกลัว ถึงความหวาด
เสียว คือไม่พึงเป็นผู้ขลาด ครั่นคร้าม หวาดเสียว หนีไป ในเพราะ
ความนินทา ติเตียน ค่อนขอด เสื่อมเสียเกียรติ ถูกกล่าวโทษพึงเป็น
ผู้ละความกลัวความขลาด ปราศจากความเป็นผู้มีขนลุกขนพองอยู่ เพราะ-
ฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงหวั่นไหวในเพราะความนินทา.
[759] คำว่า ภิกษุถูกเขาสรรเสริญแล้วไม่พึงฟูขึ้น ความว่า
คนบางพวกในโลกนี้ ย่อมสรรเสริญ ชมเชย ยกย่อง พรรณนาคุณภิกษุ
โดยชาติบ้าง ฯลฯ โดยวัตถุอื่น ๆ บ้าง ภิกษุถูกเขาสรรเสริญ ชมเชย
ยกย่องพรรณนาคุณแล้ว ไม่ควรทำความฟูขึ้น ไม่ควรทำความกำเริบขึ้น
ไม่ควรทำความถือตัว ไม่ควรทำความกระด้าง คือไม่ควรเป็นผู้จองหอง
เป็นผู้ปั้นปึ่ง เป็นผู้หัวสูง เพราะความสรรเสริญ เพราะความชมเชย
เพราะความยกย่อง เพราะความพรรณนาคุณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุ
ถูกเขาสรรเสริญแล้วไม่พึงฟูขึ้น.

ว่าด้วยความตระหนี่ 5 ประการ


[760] ชื่อว่า ความโลภ ในคำว่า พึงบรรเทาความโลภพร้อม
กับความตระหนี่ ความโกรธ และการพูดส่อเสียด ได้แก่ความโลภ

กิริยาที่โลภ ความกำหนัดนัก กิริยาที่กำหนัดนัก ความเป็นผู้กำหนัดนัก
อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล ชื่อว่าความตระหนี่ คือความตระหนี่ 5 ประการ
ได้แก่ความตระหนี่อาวาส ฯลฯ ความหวงไว้ นี้เรียกว่าความตระหนี่.
ชื่อว่าความโกรธ คือความปองร้าย ความมุ่งร้าย ความขัดเคือง ความ
ขุ่นเคือง ความเคือง ความเคืองทั่ว ความเคืองเสมอ ความชัง ความ
ชังทั่ว ความชังเสมอ ความพยาบาทแห่งจิต ความประทุษร้ายในใจ
ความโกรธ กิริยาที่โกรธ ความเป็นผู้โกรธ ความชัง กิริยาที่ชัง ความ
เป็นผู้ชัง ความพยาบาท กิริยาที่พยาบาท ความเป็นผู้พยาบาท ความ
พิโรธ ความพิโรธตอบ ความเป็นผู้ดุร้าย ความโกรธจนร้องไห้ ความ
ไม่แช่มชื่นแห่งจิต. คำว่า ความพูดส่อเสียด ความว่า บุคคลบางคน
ในโลกนี้ เป็นผู้มีวาจาส่อเสียด คือได้ฟังจากข้างนี้แล้ว ไปบอกข้างโน้น
เพื่อทำลายคนหมู่นี้ หรือได้ฟังจากข้างโน้นแล้วมาบอกข้างนี้ เพื่อทำลาย
คนหมู่โน้น เป็นผู้ทำลายคนที่พร้อมเพรียงกันบ้าง สนับสนุนคนที่แตกกัน
บ้าง ชอบคนที่เป็นก๊กกัน ยินดีคนที่เป็นก๊กกัน เพลินกับคนที่เป็น
ก๊กกัน เป็นผู้กล่าววาจาที่ทำให้เป็นก๊กกัน นี้เรียกว่าความเป็นผู้มีวาจา
ส่อเสียด อีกอย่างหนึ่ง บุคคลย่อมนำคำส่อเสียดเข้าไปด้วยเหตุ 2 ประการ
คือด้วยความมุ่งหมายเป็นที่รัก 1 มีความประสงค์ให้เขาแตกกัน 1 บุคคล
นำคำส่อเสียดเข้าไปด้วยความมุ่งหมายเป็นที่รักอย่างไร บุคคลนำคำส่อเสียด
เข้าไปด้วยความมุ่งหมายเป็นที่รักอย่างนี้ว่า เราจักเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ
เป็นผู้สนิท เป็นคนภายใน เป็นที่ดีใจของบุคคลนี้ บุคคลเป็นผู้มีความ
ประสงค์ให้เขาแตกกัน นำคำส่อเสียดเข้าไปอย่างไร บุคคลมีความประสงค์
ให้เขาแตกกันอย่างนี้ว่า คนเหล่านี้พึงเป็นต่างกัน แยกกัน เป็นก๊กกัน

เป็นสองเหล่า เป็นสองพวก เป็นสองฝ่าย คนเหล่านี้พึงแตกกัน ไม่
ปรองดองกัน พึงอยู่ลำบากไม่ผาสุก ด้วยอุบายอย่างไร ดังนี้ บุคคลผู้มี
ความประสงค์ให้เขาแตกกัน นำคำส่อเสียดเข้าไปอย่างนี้.
คำว่า พึงบรรเทาความโลภ พร้อมกับความตระหนี่ ความโกรธ
และการพูดส่อเสียด
ความว่า ภิกษุพึงบรรเทา พึงสละ กำจัด ทำให้
สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความโลภ ความตระหนี้ ความโกรธ และ
การพูดส่อเสียด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงบรรเทาความโลภ พร้อมกับ
ความตระหนี่ ความโกรธ และการพูดส่อเสียด เพราะเหตุนั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า
ภิกษุไม่พึงหวั่นไหวในเพราะความนินทา ถูกเขาสรร-
เสริญแล้วไม่พึงฟูขึ้น พึงบรรเทาความโลภ พร้อมกับ
ความตระหนี่ ความโกรธ และการพูดส่อเสียด.

[761] ภิกษุไม่พึงตั้งอยู่ในการซื้อการขาย ไม่พึงทำกิเลส
เป็นเครื่องค่อนขอดในที่ไหน ๆ ไม่พึงเกี่ยวข้องในบ้าน
และไม่พึงพูดเลียบเคียงกะชน เพราะความอยากได้ลาภ.

[762] คำว่า ภิกษุไม่พึงตั้งอยู่ในการซื้อการขาย ความว่า การ
ซื้อการขายเหล่าใด อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสห้ามไว้ในวินัย การซื้อ
การขายเหล่านั้นมิได้ทรงพระประสงค์เอาในอรรถนี้ ภิกษุตั้งอยู่ในการซื้อ
การขายอย่างไร ภิกษุทำความลวง หรือปรารถนาความเจริญ ย่อมแลก
เปลี่ยนบาตรก็ดี จีวรก็ดี บริขารอื่นอะไรๆ ก็ดี กับสหธรรมิก 5 จำพวก
ภิกษุตั้งอยู่ในการซื้อการขายอย่างนี้.

ภิกษุไม่ตั้งอยู่ในการซื้อการขายอย่างไร ภิกษุไม่ทำความลวง
หรือไม่ปรารถนาความเจริญ ย่อมแลกเปลี่ยนบาตรก็ดี จีวรก็ดี บริขาร
อื่นอะไร ๆ ก็ดี กับสหธรรมิก 5 จำพวก ภิกษุไม่ตั้งอยู่ในการซื้อขาย
อย่างนี้. คำว่า ภิกษุไม่พึงตั้งอยู่ในการซื้อ การขาย ความว่า ภิกษุไม่
พึงตั้งอยู่ ไม่พึงดำรงอยู่ในการซื้อ การขา พึงละ บรรเทา ทำให้สิ้น
ไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งการซื้อการขาย พึงเป็นผู้งด เว้น เว้นเฉพาะ
ออกไป สลัด พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้อง กับการซื้อการขาย พึงเป็นผู้มีจิต
ปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงตั้งอยู่ในการซื้อ
การขาย.

ว่าด้วยกิเลส


[763] คำว่า ภิกษุไม่พึงทำกิเลส เป็นเครื่องค่อนขอดในที่
ไหน ๆ
ความว่า กิเลสเป็นเครื่องทำความค่อนขอดเป็นไฉน มีสมณ-
พราหมณ์บางพวกผู้มีฤทธิ์ มีทิพยจักษุ รู้จักจิตผู้อื่น สมณพราหมณ์
พวกนั้น คนเห็นได้แต่ไกลบ้าง อยู่ใกล้ไม่ปรากฏบ้าง รู้จักจิตด้วยจิตบ้าง
พวกเทวดาผู้มีฤทธิ์ มีทิพยจักษุ รู้จักจิตผู้อื่น เทวดาพวกนั้น คนเห็น
ได้แก่ไกลบ้าง อยู่ใกล้ไม่ปรากฏบ้าง รู้จักจิตด้วยจิตบ้าง สมณพราหมณ์
และเทวดาเหล่านั้น ย่อมค่อนขอดด้วยกิเลสหยาบบ้าง ด้วยกิเลสปานกลาง
บ้าง ด้วยกิเลสละเอียดบ้าง. กิเลสหยาบเป็นไฉน กายทุจริต วจีทุจริต
มโนทุจริต เหล่านี้เรียกว่า กิเลสหยาบ. กิเลสปานกลางเป็นไฉน กามวิตก
พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก เหล่านั้นเรียกว่า กิเลสปานกลาง. กิเลสละเอียด
เป็นไฉน ความวิตกถึงญาติ ความวิตกถึงชนบท ความวิตกถึงอมรเทพ